Facebook
YouTube
เมนู
หลักสูตร
ปริญญาตรี
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (ต่อเนื่อง)
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (หลักสูตรระบบการศึกษาทางไกล)
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (ต่อเนื่อง) (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต)
ปริญญาโท
เกี่ยวกับคณะ
ประวัติความเป็นมา
ปรัชญา/ปณิธาน/วิสัยทัศน์
คณะผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจ
คณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
หน่วยงานภายใน
ศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา
บทความวิจัย
ห้องเรียนออนไลน์
เข้าเรียนออนไลน์ ม.4-ม.6
ห้องเรียนออนไลน์
โครงการ PIM MOOC
ติดต่อ
สมัครออนไลน์
เมนู
หน้าแรก
หลักสูตร
ปริญญาตรี
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (หลักสูตรระบบการศึกษาทางไกล)
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (ต่อเนื่อง)
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (ต่อเนื่อง) (ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต)
ปริญญาโท
ข่าวสารของหลักสูตร – (MBA-BI)
คณาจารย์ – (MBA-BI)
สมัครเรียนออนไลน์ – (MBA-BI)
ศิษย์เก่า – (MBA-BI)
ติดต่อ – (MBA-BI)
เกี่ยวกับคณะ
ประวัติความเป็นมา
ปรัชญา/ปณิธาน/วิสัยทัศน์
คณะผู้บริหารคณะบริหารธุรกิจ
คณาจารย์คณะบริหารธุรกิจ
สำหรับนักศึกษา
แหล่งเรียนรู้
โครงการ PIM MOOC
E-Learning
FAQ
DNA ความดี 24 ชั่วโมง
ALUMNI
ARTICLES
Contact Us
ปริญญาโทบริหารธุรกิจ สาขา Business Innovation – MBA-BI PIM
บทความวิจัย
ศูนย์ที่ปรึกษาและพัฒนาอาชีพนักศึกษา
BBA
BA Executive Board
ศูนย์นวัตกรรมคณะบริหารธุรกิจ
ภาษี ที่ SMEs ต้องเสีย
มีนาคม 4, 2025
Chavanan Sareerat
ภาษี ที่ SMEs ต้องเสีย
รู้เรื่องภาษีที่ SMEs ต้องเสีย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อเตรียมตัวและวางแผนธุรกิจของคุณอย่างมั่นใจ พร้อมรับมือกับทุกภาระภาษี
ผู้ประกอบการ SMEs ต้องทำการยื่นแบบและชำระภาษีอะไรบ้าง
SMEs ในประเทศไทยต้องเสียภาษีตามรูปแบบธุรกิจและรายได้ โดย SMEs ต้องชำระภาษีดังนี้:
#ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(Corporate Income Tax)
SMEs ที่จัดตั้งในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ยื่นภาษีปีละ 2 ครั้ง ภาษีครึ่งปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 และภาษีประจำปีใช้แบบ ภ.ง.ด.50 ตามอัตราภาษีสำหรับ SMEs ดังนี้:
กำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษี
กำไรสุทธิ 300,001 – 3,000,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 15%
กำไรสุทธิเกิน 3,000,000 บาท เสียภาษีในอัตรา 20%
________________________________________
#ภาษีมูลค่าเพิ่ม
(VAT)
หาก SMEs ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเสีย VAT ในอัตรา 7%
หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ไม่ต้องจดทะเบียน VAT แต่สามารถเลือกจดทะเบียนได้หากต้องการ
ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ภ.พ. 30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป คำนวณจากยอดภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อสินค้า
________________________________________
#ภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย (Withholding Tax)
SMEs มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าบริการให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์หัก ณ ที่จ่าย หักเงินภาษีไว้ทุกครั้งที่มีจ่ายค่าบริการและนำส่งให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
ค่าขนส่ง/ประกันวินาศภัย 1 % ค่าโฆษณา 2 % การจ้างทำ/บริการ 3 % ค่าเช่า 5 %
________________________________________
นอกจากนี้ยังต้องเสียภาษีให้แก่
#องค์กรท้องถิ่น
ที่กิจการตั้งอยู่ ได้แก่
#ภาษีป้าย
หาก SMEs มีการติดตั้งป้ายโฆษณาหรือแสดงชื่อธุรกิจ ต้องเสียภาษีป้ายตามขนาดและประเภทของป้าย เริ่มต้น 200 บาท
ผู้ประกอบการยื่นเสียภาษีที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่กิจการตั้งอยู่ ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
#ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
หาก SMEs เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือผู้ครอบครอง ทำประโยชน์จากที่ดินนั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล
ชำระภาษีต่อองค์กรท้องถิ่น กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่นำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ที่มีความซ้ำซ้อนกัน โดยมีองค์กรท้องถิ่นเป็นผู้จัดเก็บ กำหนดชำระภาษีภายในเดือนเมษายนของทุกปี
________________________________________
#ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(Specific Business Tax)
แต่หาก SMEs ที่ทำธุรกิจเฉพาะบางประเภท ได้แก่ ธนาคาร และผู้ประกอบการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กิจการโรงรับจำนำ กิจการรับประกันชีวิต การค้าอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจแฟ็กเตอร์ริ่ง และ การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ โดยจัดเก็บจากรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ผู้ประกอบการได้รับของธุรกิจเฉพาะด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
#กองทุนประกันสังคม
และหาก SMEs มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 750 บาท/เดือน ภายใน 30 วัน (อาจเริ่มใช้อัตราใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เพดานเงินสมทบสูงสุดอยู่ที่ 875 บาท)
________________________________________
สรุป
ประเภทภาษีที่ผู้ประกอบการ SMEs ต้องยื่นและชำระได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีป้าย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงข้อกำหนดของประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง พร้อมรับมือทุกภาระภาษี
ผู้เขียน: อาจารย์ณัฐินี พิทักษ์ตุ้ม อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
แหล่งอ้างอิง: กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง. (2566). คู่มือภาษี: ผู้ประกอบการ SMEs.
https://www.rd.go.th/62728.html
– ประชาชาติธุรกิจ. (2567 4 ธ.ค.). ประกันสังคม จ่อปรับเพดานค่าจ้างใหม่ จ่ายเพิ่มเป็น 875-1,150 บาท/เดือน.
https://www.prachachat.net/general/news-1708838
– สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. (2561). สาระสำคัญภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง.
http://www.chiangrang.go.th/…/pdfcon…/pdf-1585032901.pdf
– สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ทำเนียบรัฐบาล. (มปป.). กองทุนประกันสังคม.
https://www.oic.go.th/…/GENERAL/DATA0000/00000086.PDF
ติดตามข่าวสารจาก ALL Retail Business Center ได้ที่
Facebook
:
https://m.facebook.com/AllRetailBusinessCenter/
Instagram
:
https://www.instagram.com/allretailbypim.ig/
Blockdit
:
https://www.blockdit.com/allretailbypim
#Panyapiwat
#PIM
#ALLRetail
#ALLRetailbyPIM
#Retail
#ModernTrade
#ธุรกิจค้าปลีก
#ธุรกิจค้าส่ง
#ค้าปลีก
#การตลาด
#เทรนด์วันนี้
#Startup
#SMEs
#ภาษี
#ภาษี2567
#ยื่นภาษี
เมนู
สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookies Policy)
ตกลง
Privacy policy